ตั้งเว็บเป็นหน้าแรก : หน้าแรก : กระดานข่าว : สมุดเยี่ยมชม : ดาวน์โหลด : ราคาสินค้าเกษตร : ตรวจสอบเงินเดือน : สหกรณ์ออมทรัพย์ กองการ จนท.: ค้นหา!!
??????????????????? ???????????????????????????????? ???????????? ?????????? ?????????????????? ?????????
 
นางอรสา  ไชยมนตรี
รักษาราชการในตำแหน่ง
เกษตรอำเภอเรณูนคร
 
หน้าแรก
ประวัติหน่วยงาน
พันธกิจ/วิสัยทัศน์
ข้อมูลอำเภอเรณูนคร
ประวัติอำเภอเรณูนคร
ข้อมูลตำบลในเขต
ข้อมูลเพื่อการเกษตร
กลุ่มอาชีพ/สินค้า
กระดานข่าว
สมุดเยี่ยมชม
ดาวน์โหลด
ห้องสมุดความรู้การเกษตร
เกี่ยวกับเรา
ผู้ดูแลระบบ
รกร‹ร…รจยงร รƒร•ร‚ยนรƒร™รฉยกร…ร˜รจรรกรรจยบรฉร’ยนร ยกร‰ยตรƒยกรƒ รร“ร ร€รร รƒยณร™ยนยครƒ
รกยผยนยปยฎร”ยบร‘ยตร”ยงร’ยนร‹ยนรจร‡ร‚ยงร’ยน57
รกยผยนยกร’รƒรฃยชรฉยจรจร’ร‚ยงยบยปรƒรรร’ยณ57
รกยผยนยจร‘ยดยซร—รฉรยจร‘ยดยจรฉร’ยง57
รกยผยนยปยฎร”ยบร‘ยตร”ยกร’รƒ(Action plan)58

ยกร’รƒยบรƒร”ร‹ร’รƒยจร‘ยดยกร’รƒยงร’ยนรŠรจยงร รŠรƒร”รยกร’รƒร ยกร‰ยตรƒรร”ยตร”รฃร‹รรจ(MRCF)

รยงยครฌยคร‡ร’รรƒร™รฉยดรฉร’ยนยกร’รƒร ยกร‰ยตรƒ (KM)
ข้อมูลพื้นฐานอ.เรณูนคร
 
E-learning กรมฯ
การสอบ/สมัครงาน
บริการ SSNET
รายงาน ศ.02
สมัคร/สอบ บรรจุเข้าเป็น ข้าราชการกรมฯ
เว็บหน่วยงานในกรม
สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 3 นครพนม-ท่าแขก:
R12 เส้นทางข้ามภูมิภาคนำลำไยเหนือสู่จีน
สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 3 นครพนม-ท่าแขก: R12 เส้นทางข้ามภูมิภาคนำลำไยเหนือสู่จีน

            ขณะที่สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 ที่อำเภอเชียงของ – ห้วยทราย สปป.ลาว  จะตอกเสาเข็ม หลังจากได้ผู้รับเหมาแล้ว (อ่าน กลุ่มทุนรถไฟจีน CR5-KT คว้าประมูลสะพานข้ามแม่น้ำโขง 4 ห้วยทราย-เชียงของ)

            ข่าวความคืบหน้าของสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 3 (นครพนม-คำม่วน)  ก็เดินหน้าตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปีที่ผ่านม โดยการคว้าประมูลของ"บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์" ของเสี่ย เปรมชัย กรรณสูต เป็นผู้ก่อสร้าง วงเงิน 1,761 กว่าล้านบาท    มีระยะเวลาก่อสร้าง 30 เดือน คาดแล้วเสร็จในปี 2554

            การ ก่อสร้างเร็วมากหลังจากที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ ทรงวางศิลาฤกษ์โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 ซึ่งเป็นการกระชับและเพิ่มพูนความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศ  ไปเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2552 ร่วมกับ นายบุญยัง วอละจิต รองประธานประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

            โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางหลวงสายเอเชีย สาย AH 15 เชื่อมโยงอุดรธานี-นครพนม-หลักขาว ถึงเมืองเว้ของประเทศเวียดนามคมนาคมทางหลวงหมายเลข  22  ระหว่างจังหวัดอุดรธานี  สกลนคร  นครพนม  ไปยังทางหลวงหมายเลข  12  ของ สปป. ลาว  ท่าแขก -  ดงเห่ย  (จังหวัดกวางบิงห์)  ระยะทาง  310  กิโลเมตร  และเส้นทางหมายเลข  8  นครพนม - ท่าแขก  หลักซาว  วินห์  (จังหวัดเงอาน)  ระยะทาง  331  กิโลเมตร และสามารถขึ้นเหนือไปทะลุด่านการค้าชายแดนเมือง “ผิงเสียง” เชื่อมไปยังมณฑลกว่างซี และนครหนานหนิงของจีน

            แน่นอนที่ทางจีนได้กำหนดจุดนี้เป็นประตูการค้าสู่อาเซียนเต็มรูปแบบ

           โดยจีนกำหนดนโยบายลงใต้ทางนี้เรียกว่า “ระเบียงเศรษฐกิจหนานหนิง-สิงคโปร์” (Nanning-Singapore Economic Corridor, ??-???????) เชื่อมจีนตอนใต้สู่คาบสมุทรอินโดจีน เริ่มต้นเส้นทางจากนครหนานหนิง เขตฯ กว่างซี ผ่านประเทศเวียดนาม กัมพูชา (หรือลาว) ไทย มาเลเซีย และสิ้นสุดเส้นทางที่ประเทศสิงคโปร์ โดยอาศัยเส้นทางถนนหลวงและเส้นทางรถไฟเป็น “เส้นเลือดใหญ่” ในการเชื่อมโยงและพัฒนาเศรษฐกิจจีน-อาเซียน

            เส้น ทางนี้อย่างที่ผมพาดหัวไว้เป็นประเด็นน่าสนใจว่า ผู้ประกอบการพ่อค้าลำไยของภาคเหนือไทยในปัจจุบัน โดยเฉพาะพ่อค้าที่จังหวัดลำพูนไม่ได้ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ –คุนหมิง หรือ r3a ลำเลียงสินค้าไปจีนเป็นหลักแล้ว แต่กลับใช้เส้นทาง r12 ผ่านนครพนมเป็นหลักเพื่อผ่านเข้าจีนที่กว่างซี เพราะปัญหาหลักในเรื่องการนำสินค้าผ่าน สปป.ลาว และพม่ามีปัญหาในเชิงภาษี ต้องเปลี่ยนสัญชาติสินค้าใส่โสร่ง ผ้าซิ่น แล้วส่งต่อไปยังจีน พูดง่าย ๆ คือต้นทุน และค่าผ่านแดนที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นพ่อค้าลำไยจึงเปลี่ยนไปใช้เส้นทางการค้าสายใหม่ผ่านที่นครพนมมากขึ้น

            ดัง นั้นจึงเป็นการขนส่งสินค้าการเกษตรเข้าสู่จีนที่ข้ามภูมิภาคที่น่าสนใจ เพราะตลาดสินค้าเกษตรบางตัวสามารถเจาะตลาดจีนทางด้านตะวันออกได้อย่างทะลุ โดยเฉพาะลำไย             ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยวิเคราะห์ว่าเส้นทาง R 12 อยู่ในแนวของเส้นทางการค้าสายใหม่ (New Trade Lane) ที่สามารถเชื่อมโยงไทยผ่านลาว-เวียดนามไปถึงตลาดจีนได้  และในขณะนี้ ผู้ประกอบการไทยได้เริ่มหันมาใช้เส้นทาง R12 ในการขนส่งผลไม้สดจากไทยไปตลาดจีน  เพราะสั้นกว่า และสะดวกกว่าเส้นทาง R 9 และยังสะดวกกว่าเส้นทาง R 3 A (ทางหลวงคุนหมิง-กรุงเทพฯ) ที่เชื่อมโยงจากเชียงของไปคุนหมิง

 

            ที่สำคัญ เมื่อพิจารณาจากต้นทุนค่าขนส่ง ยังพบว่าการขนส่งจากกรุงเทพฯ-นครพนม ข้ามโขงไปท่าแขก แล้วใช้เส้นทาง R 12 เชื่อมโยงไปจนถึงกรุงฮานอยของเวียดนาม จะมีค่าใช้จ่ายในการขนส่งน้อยกว่าการใช้เส้นทาง R 9

            ทั้ง นี้ การเดินทางเชื่อมระหว่างฮานอย-หลักเซิน-ผิงเสียง-หนานหนิง ในขณะนี้ สามารถใช้ทั้งทางถนน (ขนส่งคนและสินค้า) และทางรถไฟ (ขนส่งคน แต่ยังไม่มีการขนส่งสินค้า)

            อย่าง ไรก็ตามผมคิดว่าการทำการค้าเป็นเรื่องธรรมดาที่เส้นทางไหนต้นทุนถูก ใกล้ และไม่ถูกรีดมากก็จะต้อปรับเปลี่ยน เลือกที่ดีที่สุดเพื่อให้เหลือกำไร แต่สิ่งที่ต้องตระหนักมากกว่านั้นคือรัฐบาลควรส่งเสริมการเปิดตลาดของไทยใน ทุกด้าน สวนทางกับสินค้าจีนที่จะไหลทะลักลงใต้ เราต้องนำสินค้าเกษตรคุณภาพ

            ทั้งนี้โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 นี้ ตั้งอยู่ที่บ้านห้อม ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม และฝั่งลาวที่บ้านเวินใต้ เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากไทยในการศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม การออกแบบ และการก่อสร้าง วงเงินประมาณ 1,760  ล้านบาท  โดยมอบหมายให้กรมทางหลวง   กระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทย และกรมขัวทาง กระทรวงโยธาธิการและขนส่งแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวรับผิดชอบดำเนินการ    

            ลักษณะโครงการประกอบด้วยงาน 3  ส่วน  ส่วนที่ 1  งานก่อสร้างสะพาน มีความยาวรวม  780  เมตร ความกว้างสะพาน 13 เมตร  ขนาด 2 ช่องจราจรไป-กลับ  และได้ออกแบบให้มีช่องทางกว้าง  60  เมตร  เพื่อการเดินเรือใหญ่  จำนวน  2  ช่อง  ส่วนที่ 2  งานก่อสร้างทาง ลักษณะโครงสร้างเป็นผิวจราจรคอนกรีตขนาด  4  ช่องจราจรไป-กลับ  และส่วนที่ 3  งานก่อสร้างอาคารด่านพรมแดน ประกอบด้วยอาคารและระบบต่าง ๆ  เช่น  อาคารศุลกากรผู้โดยสารขาเข้าและขาออก  อาคารตรวจคนเข้าเมือง และระบบสาธารณูปโภค  

            ส่วน การก่อสร้างตัวอาคารต่างๆ จะเป็นสถาปัตยกรรมล้านช้างที่ถ่ายทอดมาจากวัดของจังหวัดนครพนม ซึ่งถือเป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขง ที่มีการออกแบบให้เกิดความสวยงามเหมาะสมกับขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม ในพื้นที่ ส่งผลดีต่อการค้า การคมนาคมขนส่ง รวมถึงการท่องเที่ยว ในอนาคต

              โครงการ ดังกล่าวได้ถูกผลักดันให้เกิดขึ้นจากหลายฝ่าย ตั้งแต่ปี 2547 ซึ่งได้มีการสำรวจความเหมาะสมออกแบบการก่อสร้าง โดยกำหนดจุดก่อสร้างบริเวณฝั่งไทย ที่บ้านห้อม ต.อาจสามารถ อ.เมือง จ.นครพนม ตรงข้ามกับ บ้านเวินใต้ เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สปป.ลาว สามารถเชื่อมไปยังถนนหมายเลข 13 ของลาว ไปยังเวียดนาม และจีน ถือเป็นเส้นทางเชื่อมสู่อินโดจีนที่มีระยะทางใกล้ที่สุด เพียงแค่ประมาณ 150 กิโลเมตร
 

ขอขอบคุณภาพ http://www.epsilon.co.th/

หากภาพใดๆในบทความนี้ ละเมิดลิขสิทธิ์ แจ้งลบได้ที่เว็บมาสเตอร์
 
ย้อนกลับ    กลับขึ้นข้างบน

Copyright © 2010 สำนักงานเกษตรอำเภอเรณูนคร กรมส่งเสริมการเกษตร
99 ม.9 ตำบลโพนทอง อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม 48170 โทรศัพท์ 0-4257-9251

<----- สถิติการใช้งาน ----->